ประวัติการสร้างวัตถุมงคล

          ปฐมเหตุในการสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อประเทือง อติกกันโต สือเนื่องมาจากคณะศิษยานุศิษย์ได้ปรารภกับหลวงพ่ออยู่เสมอว่า “ขอให้หลวงพ่อออกวัตถุมงคลเถอะครับ” ทั้งนี้ เพราะต่างเห็นสภาพความเป็นอยู่อย่างลำบากอยากเข็ญของเด็กๆ ที่อยู่ในความอุปาระช่วยเหลือ ซึ่งท่านได้จัดสร้างโรงเรียนให้ดเด็กๆ ใจชนบทได้ศึกษาเล่าเรียน ประกอบกับในช่วงนั้น ท่านได้ตำราการสร้างวัตถุมงคลของเก่าของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ โดยการมอบให้จากศิษย์คนหนึ่ง คือคุณสวย ชัยป้อม เมื่อหลวงพ่อได้เปิดตำราอ่านแล้ว ก็รู้ว่า เป็นต้นตำรับเดิม แล้วรับคำกับผู้มอบและคณะศิษย์ว่า จะสร้างวัตถุมงคลขึ้นท่านได้ประกอบพิธีอธิษฐานจิตถือเอาตำรานั้นเป็นแนวทางในการสร้างเพื่อประโยชน์ในกิจการพระศาสนา ในความตั้งใจการสร้างครั้งแรกนั้น ท่านได้สร้างประเภทเครื่องรางของขึ้นก่อน คือตะกรุด โดยบารมีของหลวงพ่อเดิม ตะกรุดที่สร้างในครั้งแรกมีด้วยกัน 3 ดอก แล้วปลุกเสกเดี่ยวให้ลูกศิษย์นำไปทดสอบความเข้มขลัง ผลปรากฎว่า ยิงไม่ออก แต่ดอกที่สามยิงออก จึงได้คลี่ออกดูปรากฎว่า ได้เขียนอักขระผิดพลาดไปจึงจัดการใหม่ ผลปรากฎว่าเข้มขลังยิงไม่ออกเหมือนดอก 2 ดอกแรก จึงเป็นที่ประจักษ์ตาสายตาของคณะศิษยานุศิษย์ตั้งแต่บัดนั้นนอกจากตะกรุดที่สร้างขึ้นครั้งแรกเป็นที่รู้จักนิยมกันมากแล้ว เมื่อมาอยู่สร้างวัดหนองย่างทอยในสมัยแรกๆ คือ ตั้งแต่พ.ศ.2524 ท่านได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นครั้งแรก และสร้างเรื่อยมาอย่างต่อเนื่องรวมทั้งคณะศิษยานุศิษย์ใกล้ชิด ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้นบ้าง ก็มีมากมายหลายสิบรุ่น ซึ่งแต่ละรุ่นล้วนเป็นที่นิยมทั้งสิ้น พอจะสรุปได้ดังนี้…ขอบคุณ”คุณสมศักดิ์ ถาวรพีรยิ่งยง ดาวเหนือ” มากๆสำหรับรูปถ่ายขาวดำของหลวงพ่อประเทืองเพื่อร่วมให้วิทยาทาน
     พ.ศ.2524 ทางคณะศิษย์ได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่งเป็นเหรียญรุ่นแรกรูปกลมจำนวนสร้าง 5,000 เหรียญ หรือ หมื่นเหรียญผู้เขียนเองเลือน ตอกอักษรขอมตัว นะ ที่สังฆาฏิ เมื่อปลุกเสกแล้วเป็นจังหวะเดียวกับทางราชการตั้งกองบัญชาการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวส์นิสส์ที่วัดหนองยางทอย มีนายทหารสัญญาบัตรยศพันโท จำนามท่านไม่ได้ ( ผู้เขียน ) เพราะเมื่อขึ้นรถออกมาจากวัดด่านเจริญชัยก็ลืมเสียและนี่เองทีมีที่มาแห่งฉายา “ สักแล้วต้องสับ” ในครั้งนั้นหลังจากที่ทางอำเภอได้นำทหารมาพัฒนาวัดหนองยางทอย โดยหลวงพ่อประเทืองได้แจกเหรียญให้ทหารไปก่อนหน้านั้น เมื่อได้รับเหรียญแล้วพากันไปที่หลังวัดลองยิงกัน ปรากฏว่ายิงไม่ออกก็พากันมาขอเหรียญหลายคนจนท่านเองก็สงสัยในใจอยู่เหมือนกัน เมื่อสอบถามรู้เรื่องราวแล้ว ต่อมาบรรดาทหารกล้าที่ต้องไปปกป้องอธิปไตยของชาติจึงมาตั้งกองบัญชาการที่นี่ โดยขอให้หลวงพ่อแจกวัตถุมงคลซึ่งหลวงพ่อประเทืองท่านก็ไม่ขัดศรัทธา แต่ต้องถอดเสื้อขึ้นไปรับและให้ขึ้นได้ครั้งละ 9 คน พลอาสาสมัครเป็นหน่วยกล้าตายขึ้นไปรับชุดแรกและก็ต้องฟันหลังแอ่นลงมาทุกคน ใครไม่ถอดเสื้อท่านไม่ให้ เมื่อรับลงมาแล้วและคนข้างล่างบางคนก็ไม่กล้าขึ้นไปรับก็บอกแล้วอย่างไรว่า พลอาสาสมัครเป็นหน่วยกล้าตายขึ้นไปรับเท่านั้นยังไม่เชื่อในพุทธคุณ เพราะคิดว่าลงมีอาคมเฉพาะป้องกันมีดฟันหลังเพราะมีดก็ของของท่านเอง อย่ากระนั้นเลยต้องลองยิงให้รู้ดำรู้แดงไปเลย หากเกิดฮึกเหิมโดยไม่ลองให้แน่ใจออกรบเกิดพลาดเอาอกไปชนลูกปืนเข้า ไม่ไปเฝ้ายมบาลหรือ ความคิดเร็วเท่ากับเท้าที่ย่างก้าวไปหลังวัดเอาเหรียญไว้บนกิ่งไม้ลูกปืนหลวงที่เบิกมาอยู่ในลักษณะหน้าสิ่วหน้าขวานอย่างนั้นจำหน่ายออกได้นี่นาจึงลองยิงเหรียญดู ปรากฏว่าทีนี้กุฏิของท่านแน่นไปด้วยบรรดาทหารกล้าทั้งปวง คนที่ตอนแรกไม่กล้ารับก็เปลี่ยนใจขึ้นไปรับเพราะเชื่อมั่นในพุทธคุณแต่สำหรับนายทหารท่านนั้นขอรับกับหลวงพ่อแต่ไม่สับ ( ฟันหลัง ) ท่านบอกว่าไม่ได้ต้องให้เหมือนกัน ซึ่งนายทหารท่านนั้นก็โดนฟันหลังก่อนรับเหรียญไปเช่นกัน ท่านได้บอกว่า จริง ๆ แล้วท่านไม่ยากที่จะฟันหรอกเพราะเหมือนเป็นการอวดอ้างความวิเศษ อาจจะมีการเข้าใจผิด ๆ ได้ แต่ที่ทำไปนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจและให้เห็นว่า วิชาอาคมพุทธคุณต่าง ๆนั้นมีจริง ๆ สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ หากท่านผู้เป็นเจ้าของนั้นอยู่ในศีลบริสุทธิ์และปฏิบัติตามที่ครูบาอาจารย์ได้สอนไว้ ข้อแรกความสัจในวาจาที่รับไว้จากเบื้องบน และครูบาอาจารย์ต้องปฏิบัติให้ได้เข้มงวดที่สุด ไม่อย่างนั้นอาจจะเป็นบ้าเป็นบอไปด้วย ซึ่งลูกศิษย์ของท่านเพี้ยนไปสององค์ในอดีต ข้อแรกคืออย่าแสวงเป็นการหาอดิเรกลาภ แม้แต่หลวงพ่อประเทืองเองเมื่อท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคล ท่านต้องอธิษฐานต่อเบื้องบนตลอดครูบาอาจารย์ว่าการสร้างวัตถุมงคลนั้นเพื่อสร้าง และเป็นประโยชน์ของพระศาสนาในวันหน้า บางส่วนต้องขอใช้ส่วนตัวบ้าง เพราะปัจจัยต่าง ๆ ที่ญาติโยมถวายแต่ละครั้งกล่าวคำถวายเป็นของสงฆ์ทั้งหมด แม้การเช่าบูชาวัตถุมงคลบางท่านก็อธิษฐานเป็นของสงฆ์ทั้งสิ้น ไม่มีท่านใดบอกว่าส่วนนี้เป็นการถวายเป็นของส่วนตัว และในปีพ.ศ. 2524 นั้นก็ได้สร้างรูปเหมือนเรียกว่ารุ่น“พุทธกวัก” ลูกศิษย์ทางกรุงเทพสร้างถวายให้มีก้นอุดเทียนชัยและเส้นเกศา รุ่นนี้การสร้างหาความสวยงามไม่ได้เอาเสียเลย เมื่อตอนที่แจกให้ไปนั้นบางท่านเห็นรูปหล่อแล้วหาความสวยงามไม่ได้เลยจึงเอาวางไว้ตามขอบหน้าต่างโบสถ์ เมื่อหลวงพ่อประเทืองรู้เรื่องเข้าท่านจึงเอาไปฝังเรียกว่าลงกรุนั้นเอง ต่อมาภายหลังเมื่อผู้นำไปติดตัวเกิดมีประสบการณ์มากเข้าข่าวเล่าลือหนาหูขึ้นทุกขณะจึงมีผู้แสวงหากันมากถ้าจำไม่ผิดหลวงพ่อท่านได้เอาขึ้นมาแจกจ่ายญาติโยมจนหมดในปัจจุบันเช่าหากันเลข 4 หลัก ก็ไม่มีเขาว่ามาอย่างนั้น เมื่อรูปหล่อที่ทุกคนมองเป็นรูปหล่อที่ขี้เหร่ในขณะนั้นพอถึงวันเงาะถอดรูปแม้ไม่สวย แต่เต็มล้นด้วยพุทธคุณคนทั่วไปก็เเสวงหากันจ้าละหวั่น

     พ.ศ.2529 ได้สร้างรูปหล่อขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่งซึ่งรุ่นนี้สร้างได้สวยเนี้ยบเฉียบขาดมีเนื้อทองคำ 9 องค์เนื้อทองแดง 5,000 องค์ในท่านั่งสวยองค์สมาธิเหรียญกลมคล้ายเหรียญรุ่นแรก รุ่นนี้นั่งแบบพิจารณาธรรม เช่นกัน แตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่ยันต์ขอม เมื่อบอกนามท่านล่างเหรียญแล้ว ลาภผลพูนทวี มั่งมีศรีสุข เข้ามาอีก ส่วนด้านหลังสังเกตุขอบเหรียญด้านล่างรุ่นแรกจะบอกว่ารุ่นหนึ่งในวงเล็บ ส่วนเหรียญรุ่นนี้จะตีว่า 21 – 3 – 29  เป็นเลขไทยไว้

     พ.ศ. 2535 ได้สร้างเหรียญรูปไข่ขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่งเรียกว่า “รุ่นกันภัย” ทราบว่าศิษย์ของท่านใน กทม. เป็นผู้สร้างให้ท่านหลวงพ่อประเทืองเกือบทั้งหมด

     พ.ศ.2536 ได้สร้างรูปเหมิอนชนิดห้อยคอขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่ง และหรียญรูปหลวงพ่อ ด้านหลังเป็นรูปมังกรลักษณะแบบพิมพ์หลวงพ่อครึ่งองค์ ที่หน้าอกเขียนว่า พระครูสังฆรักษ์ ล่างลงมานิดหนึ่งเป็นนามฉายาเขียนว่า อติกฺกนฺโต ที่ใช้หัวส่วนหนึ่งของมังกรเป็นอักษร ตัว อ. เป็นหัวมังกร หลังจากนั้นก็สร้างมาเรื่อย ๆ อีก 3 – 4 รุ่น และทางคณะผู้สร้างได้สร้างหรียญพระกริ่งรูปเหมือน และนอกจากหลวงพ่อประเทือง ท่านจะมีเมตตากับทุกคนที่ไปพบท่าน ที่จังหวัดพะเยา อำเภอจุน ได้ขอสร้างเหรียญเป็นครั้งแรกเพื่อหาทุนสร้างประตูเมืองเวียงลอ เป็นเหรียญรูปไข่ลักษณะเหรียญด้านหน้าหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ในท่าสมาธินั่งทับมีดอีโตอยู่ และมีลายเซ็นโค้งขึ้นบนตามแนวขอบเหรียญมีหนังสือไทยความว่า“ หลวงพ่อประเทือง อติกฺกันโต 1 มกราคม 2528” ในวันที่ผู้เสนอบทความนี้ขึ้นไปเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2542 นั้นท่านค้นพบเข้าเหรียญหนึ่ง ท่านจึงได้เมตตามอบให้มา ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์สิบ ล่างลงมาหน่อยในช่วงล่างเป็นรูปซุ้มประตูและเขียนว่า “รุ่น 1” อันนี้ท่านผู้อ่านอย่าได้สับสนเพราะถือว่าเป็นรุ่นหนึ่งของทางจังหวัดพะเยา การสร้างในครั้งนั้นประมาณ 5,000 เหรียญ

     และรุ่นล่าสุดเพิ่งจะสร้าง เป็นรุ่นหนึ่งของวัดด่านเจริญชัยเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า เจริญ เป็นเหรียญที่สร้างแบบพญานาคคู่ โดยหัวพญานาคทั้งสองมาชนกันที่ฐานล่างและหางพญานาคไขว้ที่ด้านบนเหรียญ ภาพหลวงพ่อประเทืองนั่งสมาธิเต็มองค์ลอยอยู่บนพื้นเหรียญไม่มีอาสนะใด ๆ รองรับ มีรูปเสือเผ่นอยู่ใต้ทีหลวงพ่อนั่งทำสมาธิ และให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าหลวงพ่อประเทืองท่านไม่ใช่คนเกิดปีขาล ที่สังฆาฏิตอกเลข 3 อารบิคไว้มีหนังสือบอกนามและนามฉายาไว้ชัดเจน ด้านหลังเป็นยันต์มหาอุดคำว่า “ อุดธัง อัดโธ ” และคำว่า “อุ มะ มะ” อยู่ในรูปแบบของยันต์ 4 เหลี่ยม ขอบบนเหรียญเขียนว่า วัดด่านเจริญชัย รุ่นเจริญ ในบรรทัดต่อมา ใต้ยันต์ข้างล่างมี พ.ศ.2542 ถัดลงมาเป็นอ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นล่าสดในขณะนี้ ซึ่งอีกไม่นานจะมีสร้างขึ้นมาอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า รุ่นหาทุนสร้างพระอุโบสถ หลังจากที่หลวงพ่อได้ปลุกเสกเดี่ยวมาแล้วประมาณ 10 รุ่นนอกจากเหรียญและรูปหล่อขนาดเล็กสองรุ่นเเล้วยังได้สร้างรูปหล่อขนาดบูชา 5 นิ้ว และ 9 นิ้ว ยังมีปลีกย่อยอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง อาทิ พระกริ่ง พระยอดขุนพลศรีเทพ พระปิดตา ฤๅษี แหวน มีดหมอ ตะกรุด 3 ชั้น 9 ชั้น ตะกรุดคู่ชีวิต ตะกรุดเมตตามหานิยม ตะกรุดหนังเสือ ลูกอมชานหมาก สีผึ้ง ซึ่งวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่ได้รับการปลุกเสกจากหลวงพ่อประเทืองนั้นล้วนได้รับความนิยมอยู่ในนชั้นแนวหน้าของนักนิยมสะสมพระเครื่องทั่วไป ข้อมูลเก่าจากหนังสือพระเครื่องกรุงสยาม โดย เมฆ เมืองชุมพร

ความสัมพันธ์กับวัดหนองย่างทอย
เมื่อสร้างสำนักสงฆ์เรียบร้อยแล้วตั้งใจเดินทางกลับมาที่บ้านช่องเเค เพื่อเยี่ยมญูาติ รุ่งเช้าท่านก็ออกเดินทางจากสำนัก ฯ ออกมาที่ตลาดศรีเทพเพื่อเดินทางกลับช่องแค ผ่านมาทางบ้านหนองยางทอยซึ่งเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอศรีเทพ คนลาวย่านนั้นที่ศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อประเทือง เพราะเชื่อในความเข้มขลังจากตะกรุดของท่าน เห็นท่านเดินผ่านมาจึงนิมนต์ให้ท่านมาอยู่จำพรรษาที่หนองยางทอย โดยร่วมกันถวายที่ดินประมาณ 20ไร่ เพื่อสร้างเป็นวัด ครั้งจะบอกปัดเป็นการขัดศรัทธา และเมื่อมองไปรอบ ๆ บริเวณแห่งนั้น บ้านคนที่ปลูกอยู่อาศัยก็ไม่หนาตาจึงออกอุบายบอกญาติโยมว่า ถ้าพรุ่งนี้ญาติโยมแผ้วถางเนื้อที่ 20 ไร่นี้ได้หมด อาตมาก็จะอยู่สร้างวัดให้เป็นการฉลองศรัทธาที่ญูาติโยมมีต่อท่าน เพราะหากมองกันด้วยตาเปล่าเชื่อแน่ว่าไม่มีทางไปได้ มองเห็นบ้านไม่กี่หลังคา แต่หากว่าญาติโยมไม่สามารถที่จะถางป่าให้เสร็จในวันเดียว อาตมาไม่อยู่สร้างวัดให้เป็นข้อแลกเปลี่ยน หลวงพ่อประเทืองท่านไม่รู้ว่าในป่าด้านหลังนั้นมีบ้านคนอีกหลายสิบ เช้าขึ้นมาผู้คนมากันพร้อมด้วยมีดถาง และสามารถที่ถางเสร็จในวันเดียว ทลวงพ่อประเทืองจึงจำเป็นต้องรักษาสัตย์สร้างวัดที่นั้นซึ่งต่อมารู้จักกันในนามวัดหนองยางทอย ในปัจจุบันนั้นเองเมื่อท่านผู้เคารพเลื่อมใสหลวงพ่อประเทืองทราบข่าว ต่างชวนกันบริจาคทรัพย์สินสร้างวัดหนองยางทอยมาตั้งแต่พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาเสนาสนะภายในวัดหนองยางทอยที่เป็นผลงานของหลวงพ่อประเทือง ท่านได้ฝากไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อสืบสานถีงชนรุ่นหลังได้ระลึกถึงต่อไปในอนาคต พระอุโบสถ ซุ้มประตูวัด กุฏิ ศาลาเทอดพะเกียรติพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เจดีย์  9 ชั้น ซึ่งเสร็จแล้วเเต่ว่าหากจะให้สวยสมบูรณ์จริง ๆ ก็ยังใช้ปัจจัยอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเติมแต่งสีสันให้ดูแล้วสวยงามแต่ว่าเศรษฐกิจอย่างนี้ชาวบ้านเลือดตาเกือบกระเด็นในการทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว และเจดีย์ 9 ชั้นนั้นก็ใช้ได้แล้วซึ่งต่อมาเมื่อสิ่งก่อสร้างภายในวัดเต็มรูปแบบของวัดแล้วจึงขอเสนอเปลี่ยนนามวัดหนองยางทอยเสียใหม่ว่าเป็น “ วัดเทพประทานพร ” เมื่อปี พ ศ. 2524 นั้นเอง และในปีนั้นศึกษาธิการและปลัดอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ได้มานิมนต์หลวงพ่อ ให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาดิน อำเภอเมืองฯ เพราะผ่านมา 2 เจ้าอาวาสมรณะไม่สมกับฐานะของพระสงฆ์ผู้ทรงศีลเมื่อรับปากแล้วท่านบอกคนทั้งสองว่าขอไปอยู่เพียงพรรษาเดียวนะ เมื่อออกพรรษาแล้วขอกลับมาหนองยางทอยอีก ท่านเล่าผู้เขียนว่าวัดเขาดินนั้นเป็นวัดที่มีผลประโยชน์สูง เมื่อท่านเดินทางไปถึงใต้ถุนกุฏิมีพ่อค้าแม่ขายใช้เป็นที่ผูกเปลนอนกันแล้วท่านจึงเรียกประชุมเพื่อทำความเข้าใจกันในกรณีต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นต้องปฏิบัติ บางคนก็ถากถางด้วยวาจาและยังมีจดหมายลึกลับจากผู้หวังดีให้ท่านรู้ แต่ว่าหลวงพ่อประเทืองท่านไม่ได้สนใจเมื่ออยู่มามีอะไรพอที่จะเอื้ออาทรได้หลวงพ่อก็โอนอ่อนผ่อนตามกันไปจนชาวบ้านศรัทธา หรือพูดแบบนักพระเครื่องก็คือ ลูกศิษย์ของท่านคือพ่อค้าแม่ขายในวัดนั้นเอง เมื่อถึงคราวต้องจากก็เป็นที่เสียดายของบุคคลเหล่านั้น

ตั้งสำนักสงฆ์

 หลวงพ่อประเทือง ท่านเดินธุดงค์วนเวียนอยู่ในภาคอีสานและภาคเหนืออยู่เป็นเวลานานพอสมควรในไพรพงพฤกษ์จึงเริ่มที่จะมองเห็นสัจธรรมในมโนภพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหนหลังจึงตกลงใจที่จะสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นในอำภอศรีเทพเรียกสถานที่แห่งนั้นว่า สำนักสงฆ์ด่านเจริญชัย ขึ้นบนเขารวก แต่หนทางการสัญจรไปมาหาสู่กันค่อนข้างลำบากจึงได้ตัดสินใจย้ายสำนักสงฆ์ลงสู่พื้นที่ราบในเนื้อที่ประมาณ ๖๐ ไร่และได้สร้างโรงเรียนขึ้นเพื่อให้ลูกหลานชาวไร่ในนั้นได้ศึกษาเล่าเรียนกัน แต่ในขณะนั้นปัจจัยต่าง ๆ ท่านไม่มีพอที่จะจับจ่ายจึงลงไปยืมของพี่ชายมาจำนวนหนึ่ง เมื่อเป็นหนี้พี่ชายก็เกิดเป็นทุกข์ทางใจที่จะต้องหาทางปลดเปลื้องหนี้ของพี่ชายในขณะนั้น เหมือนบุญแต่หนหลังที่สร้างไว้ ดลบันดาลให้ คุณสวย ชัยป้อม นำตำราการสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเดิมมาถวาย ท่านจึงคิดสร้างตะกรุดขึ้นเเละตั้งสัจจว่า จะสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณประโยชน์ส่วนรวมเท่านั้น การลงอักขระเลขยันต์ในตะกรุดครั้งนั้นท่านยังไม่มีความรอบรู้เท่าที่ควรพูดง่ายๆคือยังขาดประสบการณ์ในการทำวัตถุมงคลถึงกับเปิดตำราดูลงยันต์กันทีละตัวซึ่งวันหนึ่งสร้างได้เพียงดอกสองดอกเท่านั้นเมื่อเสร็จแล้วก็ปลุกเสกเดี่ยวกันเลยเมื่อเชื่อใจว่าวัตถุมงคลนั้นมีพุทธคุณที่จะนำไปแจกจ่ายแล้วให้ลูกศิษย์ใช้ปืนลองยิงกันทีเดียวปรากฏลูกปืนด้าน จึงเกิดพลังใจสร้างเพิ่มขึ้นมาอีก ต่อมาเมื่อทำบ่อย ๆ จำอักขระแม่นการท่องคาถาอาคมกำกับก็ง่ายขึ้น และหลวงพ่อได้ออกบอกบุญเรี่ยไร (สมัยนั้นทางมหาเถระสมาคมยังไม่ห้ามพระบอกบุญด้วยการเรี่ยไรข้ามเขต ) จนได้ปัจจัยมาปลดหนี้ได้ในระยะต่อมา…